itpcc

เมื่อผมไปฟังเสวนา กสทช. พบ Blogger และชาวเน็ต #DTV4All

เมื่อผมไปฟังเสวนา กสทช. พบ Blogger และชาวเน็ต #DTV4All

เมื่อผมไปฟังเสวนา กสทช. พบ Blogger และชาวเน็ต #DTV4All

สวัสดีครับ วันนี้ผม ในฐานะชาวเน็ตได้เข้าร่วมงาน “กสทช. พบ Blogger และชาวเน็ต : กับดิจิตอลทีวี” จัดโดย กสทช. และ ThaiPBS ณ ห้อง SkyRoom ชั้น 17 อาคารใบหยก 2 แน่นอนครับว่า เป็นการพูดคุยถึงเรื่อง Digital TV ที่ กสทช. และ MUX หลักอย่าง ThaiPBS กำลังผลักดันให้เป็นจริงให้จงได้

นอกจากตัวผมแล้ว ยังมี Blogger ชื่อดังหลายท่านร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ก่อตั้ง Blognone อย่าง @lewcpe กับ @markpeak, @kafaak, คุณชายอดัม (หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล) รวมทั้งนักข่าวหลายแห่งทั้ง Nation, สทท. อีกด้วยครับ

ช่วงที่ 1 : อภิปราย ถาม-ตอบ

ผมได้บันทึกเสียงช่วงนี้ไว้ รับฟังได้บน browser นะครับ ส่วนใครอยากฟังไฟล์เต็มก็ดาวน์โหลดได้ครับ

ช่วงแรกเป็นการพูดถึงการสื่อสารเกี่ยวกับ Digital TV ที่ไม่ถูกต้องของนักข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักหนังสือพิมพ์ในช่วงที่มีประเด็นช่อง 3 จอดำ มีการพูดถึงในประเด็นเช่นการให้บริการที่ไม่พร้อม เป็นต้น ซึ่งที่จริงแล้วเป็นการดำเนินงานไฟตามแผนการตามช่วงๆ ไป อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตและ blogger กลับมีความรู้ความเข้าใจทั้งในแง่ของข้อมูลทางเทคนิค ไล่เรียงเหตุการณ์และข้อเท็จจริงได้จนเป็นที่กระจ่าง กสทช. จึงหวังว่าการอภิปรายครั้งนี้ชาวเน็ตและ blogger จะได้พูดคุยและขยายผลต่อไปให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างถูกต้องได้ต่อไป

ต่อไปนี้คือ ถาม-ตอบบางส่วนจากผู้เข้าร่วมที่ส่งกันเข้ามานะครับ ฉบับเต็มรับฟังได้จาก audio ด้านบนได้เลย

Q: ทำไม กสทช. เรียงเลขช่องที่แตกต่างกันในระบบภาคพื้นดินกับภาคดาวเทียม/เคเบิลทีวี

A: บางเรื่อง กสทช. ไม่ควรพูด ขอเงียบๆ ไว้ก่อน

(/me ควันไหม้กันเลยทีเดียว)

 

Q: มีการดำเนินการ interactive TV ผ่านระบบ Digital TV แล้วหรือไม่ อย่างไร

A: เรื่องนี้อยู่ในแผนการขั้นต่อไปแล้ว แต่ยังไม่มีข้อกำหนดอย่างชัดเจน ขอให้การดำเนินกิจการ TV หลักลงตัวก่อน คาดว่าไม่เกิน 3-4 ปีต่อจากนี้

 

Q: ประเด็น EPG ที่ไม่ถูกต้องจะดำเนินการอย่างไร แล้วจะเปิด API ให้เว็บไซต์อื่นได้ใช้ด้วยหรือไม่

A: เรื่องของ EPG กสทช. ไม่ได้บังคับให้ทุกช่องทำ เป็นเพียงการขอความร่วมมือกับผู้ให้บริการช่องต่างๆ ส่งข้อมูลมายัง กสทช. ซึ่งวางระบบและแจกจ่ายข้อมูลให้แต่ละ MUX ส่งต่อให้ผู้ใช้สามารถดูล่วงหน้าได้ 7 วัน แต่ในบางครั้งที่รายการกินเวลาหรือมีรายการกระชั้นชิด EPG ที่ต้องส่งไปล่วงหน้าจึงแก้ตามไม่ทัน อย่างไรก็ตามก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนโดยให้ช่อง Line แจ้งไปยัง MUX ให้แก้ไขที่หน้างานไปก่อน ส่วนเรื่อง API ที่ร้องขอมานั้น เนื่องจากระบบของ กสทช. นั้นเป็นระบบออนไล์อยู่แล้ว ดังนั้นในทางเทคนิคนั้นสามารถทำได้ กสทช. จะรับไว้พิจารณาในระดับนโยบายต่อไป

Q: จากกรณีที่มีบางช่องอาจจะหายไปจาก MUX ของ ThaiPBS นั้น ช่องที่ยังให้บริการอยู่ที่เป็น Standard Definition (SD) จะขออัพเกรดเป็น High Definition (HD) ได้หรือไม่?

A: เป็นที่น่าเสียดายว่าแม้ช่องจะสามารถอัพเกรดเป็น HD ได้ แต่ก็ติดปัญหาเรื่องความจุของ MUX ที่เต็ม ไม่เพียงพอจะออกอากาศในระบบ HD ได้อย่างมีศักยภาพเพียงพอ แม้จะสามารถใช้ระบบบีบอัดภาพแบบ H265 ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ได้ แต่ STB ที่จำหน่ายในประเทศไทยรองรับแค่ H264 ไม่สามารถใช้ได้ แต่หากเกิดกรณีเช่นนั้นจริง (แม้คุณสุพิญญาจะแนะนำให้ใช้การขายหุ้นหรือเปลี่ยนกรรมการมากกว่าขายใบอนุญาตก็ตาม) อาจจะเปิดให้ประมูลเพิ่มได้ แต่ทั้งนี้เป็นเพียงการพูดภายใน ยังไม่ได้สรุปเป็นทางการ

 

Q: หากเกิดเหตุสุดวิสัยกับตึกใบหยก 2 จนไม่สามารถออกอากาศได้จริงๆ MUX ThaiPBS มีแผนรับมือหรือไม่ อย่างไร?

A: MUX ThaiPBS มีการเตรียมพร้อมรับมือเรื่องดังกล่าวไว้หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่นเครื่องส่งสำรอง, ระบบ Backup สัญญาณ (ไล่จากลำดับเรียกใช้ก่อนไปหลัง ได้แก่ดาวเทียม Thaicom, Internet Fiber Optic และ Microwave Link), UPS และ Surge protector (ในใบหยกก็มีเหตุให้ใช้แล้วถึง 19 ครั้ง), สถานีเคลื่อนที่ฉุกเฉิน หรือหากเลวร้ายแบบ 9/11 จริง ThaiPBS ร่วมมือกับ ททบ. ใช้พื้นที่และเสา 120 เมตรของกรมทหารสื่อสาร สะพานแดง ซึ่งเคยใช้เมื่อครั้งออกอากาศ VHF ของ ททบ.5 ในการตั้งสถานีทดแทน โดยจะใช้กำลังต่ำทำหน้าที่เป็นสถานีเสริมในพื้นที่ที่ใบหยก 2 ไม่ครอบคลุม และจะเพิ่มกำลังส่งทันทีหากสถานีใบหยก 2 ใช้การไม่ได้ (ใน SLA ที่แต่ละช่องทำกับ MUX จะต้องการันตีคุณภาพไว้ที่ 99.98% หรือใน 1 จะพลาดได้ไม่เกิน 45 นาที) สำหรับการตั้งความแรงสัญญาณในปัจจุบัน กสทช. กำหนดกำลัง (ERP) ที่สายอากาศไว้ที่ 100 kw แต่ในกรณีของ ททบ. ที่ใช้ความถี่ MUX สูง ก็อุโลมให้เพิ่มกำลังส่งเพื่อชดเชยกับความถี่

 

Q: มีแผนปิดการให้บริการ Analog TV อย่างไร?

A: อสมท. ททบ. สทท. และ ThaiPBS ส่งแผนการปิดมาแล้ว โดย ThaiPBS ประเดิมที่สมุยและไชยปราการก่อน เพราะสมุยมีสถานีภาคพื้นดินเพียงสถานีเดียว จึงมีผู้ใช้ Analog TV ไม่ถึง 10% จึงจะสลับเป็น Digital TV เลย ไม่มีการคู่ขนาน ส่วนที่ไชยปราการ ต้องนำคลื่น Analog ให้ ททบ. ใช้เป็น MUX (เดิมจะเลิกที่อุบลด้วย เนื่องจากติดชายแดน ต้องทำให้สอดคล้องกัน แต่เนื่องจากกระทประชาชนจำนวนมาก จึงต้องเลื่อนออกไปก่อน)
ส่วนความถี่ VHF นั้นจะใช้กับวิยุดิจิตอล (DAB)

-ตึกใบหยก+เสาหลักA1+เสาย่อย-เมื่อ2ปีเต็ม95%เริ่มวัดว่าสัญญาณในอาคารรับได้ไม-เลขยังพูดไม่ได้ เพราะจะทำให้แผนเสีย-ผังรา…

Posted by Magawn19 ให้ข้อมูลข่าวสารโทรคมนาคมและการสื่อสาร on Saturday, July 25, 2015

ช่วงที่ 2 ไปปีนเสา ThaiPBS บนยอดตึกใบหยก 2

ช่วงนี้ บรรยายโดยนายธนกร สุขใส ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลและวางแผนวิศวกรรม ThaiPBS (@engineerthaipbs)

ที่ชั้นสูงสุดของตึกใบหยก นอกจากจะมีมุมชมวิว 360° แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของห้องส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ของ ThaiPBS อีกด้วย (จริงๆ จะมีของช่อง 3 อสมท. และช่อง 7 ด้วย แต่เนื่องจากไม่ได้มาพร้อมกัน เลยแยกกันอยู่)

แผนผังโดยย่อ แสดงการส่งสัญญาณโทรทัศน์บนตึกใบหยก 2

ส่วนประกอบหลักจะแบ่งเป็น 4 ส่วนหลัก คือ

  1. ภาครับ จะมีระบบรับสัญญาณที่ส่งมาจาก Studio ของแต่ละ MUX โดยใช้ช่องทางรับสัญญาณ 3 ทาง เรียงตามลำดับการใช้จากก่อนไปหลังดังนี้ครับ
    1. ดาวเทียม Thaicom
    2. CAT Fiber Optic Internet
    3. Microwave Link

    ซึ่งจะผ่านระบบ Seamless switch หากระบบใดล่ม ก็สามารถสลับสัญญาณไปแหล่งที่ยังใช้ได้อย่างรวดเร็วจนไม่รู้สึกว่ากระตุก

    เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมและ Microwave link

    เครื่องรับสัญญาณ Fiber Optic internet

    จานดาวเทียมสำหรับรับสัญญาณ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.8 เมตร

  2. ภาคสร้างสัญญาณ
    เมื่อได้รับสัญญาณภาพแล้ว จะสร้างสัญญาณด้วย Exciter และขยายสัญญาณด้วย Power Amplifier ให้แรงตามที่ต้องการ ทั้งนี้ การควบคุมเครื่องส่งจะทำผ่าน TX Controller ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแม้จะสามารถรอบรับในปัจจุบันได้ถึง 8 MUX แต่ตอนนี้ยังใช้จริงแค่ 2 MUX ก่อนจะนำสัญญาณที่ได้เข้า Rigid Line หรือสายนำสัญญาณแบบพิเศษ ข้างในจะประกอบไปด้วยท่อทองแดง 2 ท่อ ทำหน้าที่เสมือนขดลวดเหนี่ยวนำ (L) และตัวเก็บประจุ (C) เพื่อนำสัญญาณเข้า Combiner เพื่อรวมสัญญาณจาก MUX อื่นไปส่งออกรวมกันที่ภาคออกอากาศบนยอดตึก

    ภาคสร้างสัญญาณ ตรงกลางเป็น TX Controller จะเห็นได้ว่า active จริงแค่ 2 จาก 8 MUX

    Power Amplifier เครื่องสำรอง

    ตัวอย่างท่อ Rigid Line

    Combiner

  3. ภาคออกอากาศ จะเป็นสายอากาศที่อยู่บนยอดตึกซึ่งใช้ร่วมกันของทุก MUX (แม้ในช่วงแรก อสมท. จะใช้เสาของตัวเอง แต่ภายหลังก็รวมกันใช้)

    สายอากาศบนยอดตึกใบหยก 2 ซึ่งใช้ออกอากาศโทรทัศน์ทั้งระบบ analog และ digital รวมกัน

    บันได้ที่ใช้ปีนขึ้นไปจากตัวอาคารไปสู่ชั้นติดตั้งสายอากาศ

  4. ภาคไฟฟ้า นอกจากระบบไฟสำรองจาก UPS แล้ว ยังมีระบบปั่นไฟโดยใช้น้ำมัน ซึ่งสามารถออกอากาศเต็มระบบได้อย่างน้อย 3 วันและเพิ่มขึ้นได้หากมีน้ำมันมาเติมเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมี Surge Protector ป้องกันไฟฟ้าไม่พึงประสงค์ทำลายระบบการทำงานอีกด้วย

    ตู้ Surge Protector เลข 19 บนจอคือจำนวนครั้งที่ไฟฟ้าแรงสูงไม่พึงประสงค์ผ่านเข้ามาในระบบ

สำหรับการให้บริการ ThaiPBS กล่าวว่าการที่คิดค่าให้บริการ MUX ใกล้เคียงกับราคาทุนนั้น แม้ ThaiPBS จะไม่ได้กำไรจากส่วนนี้มากนัก แต่ก็นับเป็นความต้องการที่จะตอบโจทย์ พรบ.ทีวีสาธารณะที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงบริการส่วนนี้ได้ (อย่างไรก็ตาม LOCA และ ThaiTV เองก็ยังไม่ได้จ่ายค่า MUX ให้กับ ThaiPBS แต่อย่างใด ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการยึด Bank Guarantee อยู่) และการให้บริการ Digital TV กลับสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าของการออกอากาศได้อย่างมาก กล่าวคือในสถานีใบหยก 2 นั้นแต่เดิมในระบบ Analog จะใช้ไฟฟ้าเดือนละประมาณ 600,000 – 700,000 บาท แต่พอมาออกอากาศในระบบ Digital TV กลับใช้ไฟฟ้าในการดำเนินการเพียง 60,000 – 70,000 บาท คิดเป็น 10% ของระบบเดิม

สิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้จากคุณธนกรก็คือ ThaiPBS มีวัฒธรรมที่น่าสนใจคือจะพยายามใช้สิ่งที่มีให้คุ้มค่าที่สุดและพึ่งตนเองเท่าที่ทำได้ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคราวที่ต้องบำรุงรักษาระบบส่งสัญญาณ หากเป็นที่อื่นอาจใช้บริการของ vendor มาซ่อมบำรุงและคิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ ThaiPBS เลือกจะซ่อมบำรุงด้วยตัวเอง ตะกั่วแห้งก็บัดกรีใหม่ Capacitor เสื่อมสภาพก็เปลี่ยน ทำให้ ThaiPBS ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องส่งสัญญาณเลยนับตั้งแต่ก่อตั้ง ITV มาจนถึงปัจจุบัน และก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่หลายอย่าง อาทิเช่นการสร้างวงจร Power Supply ใหม่ที่เหมาะสมต่อลักษณะอากาศของไทย ซึ่งถูกกว่าเกือบร้อยเท่าและคุณภาพก็ดีกว่า การสร้างวงจร Digital Nicam เอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีข้อติดขัดอยู่ 2 ประการ คือ

  1. การศึกษาของไทยเน้นไปที่สร้างคนให้เป็น user มากกว่าจะเป็น inventor ทำให้ผลงานที่เกิดขึ้นมักเป็นการนำขอเดิมมาต่อยอดมากกว่าการสร้างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่
  2. งบประมาณ อุปกรณ์หลายอย่างแม้จะทราบดีว่าผลิตที่ไหน แต่ก็ไม่สามารถซื้อได้โดยตรงจากผู้ผลิตในประเทศ แต่ต้องไปซื้อที่ผู้จำหน่ายซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจึงสูงกว่าที่ควรจะเป็น ประหนึ่งทำในไทย ส่งไปปั๊มตราเมืองนอกแล้วนำกลับมาขายในไทย

ระบบออกอากาศ Analog TV บริเวณนั้นมีความร้อนสูงมากจนต้องเสริมพัดลม

 ช่วงที่ 3 สนทนา

ช่วงนี้เป็นช่วงของการสนทนากันเอง มีเรื่องที่น่าสนใจหลายอย่างครับ โดยสรุป อาทิเช่น

เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจครั้งหนึ่งนะครับที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนระบบ Digital TV อย่างใกล้ชิด และได้พบปะพูดคุยกับคนในวงการ ทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และผู้ดูแลกิจการ ต้องขอขอบคุณ กสทช. และ ThaiPBS โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณปิ๊ก คุณสุภิญญา คุณแมว ธนกร และทุกท่านที่มาร่วมงานจริงๆครับ

มีข้อติชม พูดคุย ก็ขอเชิญได้ที่ Comment ด้านล่างนี้เลยนะครับ หรือที่ #DTV4All หรือ #DTVforAll

Blog ของผู้เข้าร่วม

Exit mobile version